top of page
รูปภาพนักเขียนThai Nepal Travels & Trek

โรคแพ้ความสูง และการป้องกันเบื้องต้น

อัปเดตเมื่อ 29 มิ.ย. 2562

เมื่อต้องมาเดินป่า หรือ ปีนเขาในประเทศเนปาล คุณรู้จักโรคแพ้ความสูงมากน้อยแค่ไหน?


การได้ออกเดินทางเป็นเรื่องสนุกเสมอ อย่างไรก็ตามการเดินทางที่มีการเตรียมตัวและการจัดการที่ไม่ดี อาจนำไปสู่สถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่นการเดินป่าหรือปีนเขาในพื้นที่สูงอาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ผู้เดินทางอาจเจ็บป่วยเนื่องจากการแพ้ความสูง และการบาดเจ็บง่าย ๆ บางอย่าง ในพื้นที่สูงอาจนำไปสู่การสูญเสียได้


นักปีนเขาและนักเดินป่าในพื้นที่สูง ต้องตระหนักและเตรียมใจไว้เสมอว่ายิ่งขึ้นสูงเท่าไหร่ ความเสี่ยงยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น การเดินช้า ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ระวังและใช้เวลาในการปรับตัวให้ชินกับสภาพอากาศที่เหมาะสม สามารถช่วยในการรับมือกับความเจ็บป่วยในพื้นที่สูงได้ ไม่ต้องรีบร้อนขณะอยู่บนภูเขา เวลาพักเพื่อใช้ในการปรับสภาพร่างกายมีบทบาทสำคัญมาก ยิ่งคุณมีเวลาพักมากเท่าไหร่คุณก็ยิ่งปลอดภัยเท่านั้นกล่าวอีกนัยหนึ่งตารางโปรแกรมการเดินทางที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และการเป็นโรคแพ้ความสูง สำหรับนักเดินทางในที่สูง



การเจ็บป่วยจากการแพ้ความสูง เป็นเรื่องปกติ ที่เกิดบนภูเขาสูง แบ่งออกเป็นสามประเภท ดังนี้

1. Acute Mountain Sickness (AMS) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยที่สุด รุนแรงน้อยที่สุดในทั้ง 3 กลุ่มอาการ มักเกิดขึ้นประมาณ 6-10 ชั่วโมง หลังจากการขึ้นไปอยู่บนที่สูง ลักษณะของอาการ คือ ปวดศีรษะ วิงเวียน เหนื่อยมาก หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อาจ คลื่นไส้ อาเจียน โดยมักเกิดอาการได้ตั้งแต่สถานที่นั้น ๆ มีความสูงตั้งแต่ประมาณ 2,100-2,500 เมตร (7,000 -8,000 ฟุต) จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป โรคแพ้ความสูง พบเกิดได้กับทุกเพศและทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้รวมถึงผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วย โดยอัตราเกิดในผู้หญิงและในผู้ชายใกล้เคียงกัน คุณไม่สามารถระบุประเภทอาการได้อย่างชัดเจน อาจมีหลายร้อยคนที่ไม่ชัดเจนและไม่เจาะจง! อาการแรกสุด คืออาการปวดศีรษะ แต่ปวดไม่มาก และมีการร่วมดังต่อไปนี้อีกอย่างน้อย1 อาการ คือ

· อ่อนเพลีย

· รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนล้า ไม่มีแรง

· มีอาการทางด้านทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร

· หัวใจเต้นเร็ว (ชีพจรเต้นเร็ว) เหนื่อย หายใจลำบาก (เมื่อออกแรง)

· วิงเวียน มึนงง จะเป็นลม

· นอนไม่หลับ

และอาการจะดีขึ้นภายหลังการดูแลตนเองภายใน 1-2 วัน (อาการมากขึ้นในช่วงกลางคืน และเมื่อตื่นนอนเช้า เพราะเป็นช่วงความดันโลหิตต่ำกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ) ด้วยการพักผ่อน สูดดมออกซิเจน และลงมาอยู่ในพื้นที่มีความสูงปกติ

2. HAPE (High altitude pulmonary edema) อาการจากภาวะปอดบวมน้ำ เป็นอาการที่รุนแรงกว่า AMS พบได้ประมาณ 0.1-4% โดยจะต้องมีอาการดังจะกล่าวต่อไปอย่างน้อย 2 อาการ คือ

· ขณะพัก ก็หายใจลำบาก

· ไอ (เสลดมักเป็นฟอง และอาจมีเลือดสดปน)

· อ่อนเพลียมากขึ้น

· ออกแรงไม่ไหว

· และ/หรือ แน่นหน้าอก

และถ้าตรวจดูจะพบอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 อาการเช่นกัน คือ

· ใบหน้าและ/หรือลำตัวเขียวคล้ำ

· หัวใจเต้นเร็ว

· หายใจเร็ว

· และ/หรือ ถ้าฟังเสียงหายใจ (อาจด้วยหูฟัง) จะได้ยินเสียงผิดปกติ เช่น เสียงหวีด หรือ เสียงแซมหายใจ/เสียงหายใจผิดปกติที่เรียกว่า Rale

HAPE มักเกิดในช่วงกลางคืนเช่นกัน และมักเกิดประมาณวันที่ 1-3 หลังจากขึ้นที่สูง โดยพบว่าเมื่อขึ้นที่สูง 2,500 เมตรประมาณ 15-20 % จะเกิดภาวะนี้ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที โดยเฉพาะการต้องลงมาจากที่สูง มาอยู่ในพื้นที่ความสูงปกติ มีโอกาสเสียชีวิตได้ประมาณ 40% แต่ถ้าได้รับการรักษารวดเร็ว ผู้ป่วยจะกลับสู่ภาวะปกติได้ภายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์

3. HACE (High altitude cerebral edema) หรือ อาการจากสมองบวมน้ำ คือ ผู้ ป่วยจะมีอาการทางสมองร่วมด้วยกับอาการต่าง ๆ ทั้งในภาวะ AMS และในภาวะ HAPE เป็นอาการที่รุนแรงที่สุดในกลุ่มอาการที่เกิดจากโรคจากขึ้นที่สูง พบได้ประมาณ 0.1-4% เช่นกัน โดยมีอาการสำคัญ คือ

· เดินเซ/เดินได้ไม่ตรง ต่อจากนั้น คือ

· อาการสับสน

· ซึ่งถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการต้องลงมาอยู่ในพื้นที่ความสูงปกติ ผู้ป่วยจะโคม่าในระยะเวลาประมาณ 12 ชั่วโมงหลังเกิดอาการทางสมอง


HACE มักเกิดต่อเนื่องมาจากการไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเมื่อเกิด AMS และ HAPE ภาวะแทรกซ้อนทางกายภาพหรือปัญหาในช่วงระยะการเดินทาง ร่างกายของคุณมีความยากลำบากในการปรับตัวกับสภาพแวดล้อม ยิ่งขึ้นสูงไปมากเท่าไหร่ออกซิเจนก็จะยิ่งมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมน้อยลงเท่านั้น ประมาณว่าที่ระดับความสูงประมาณ 4,500 เมตรนั้นมีออกซิเจนน้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเล

โดยอาการจะรุนแรงขึ้นในช่วงกลางคืนเช่นกัน เมื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยจะฟื้นกลับเป็นปกติได้ในระยะเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งโอกาสเสียชีวิตจะประมาณ 15-20% และถ้าเกิดโคม่า โอกาสเสียชีวิตจะประมาณ 60%


การเจ็บป่วยจากการแพ้ความสูงไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด ประมาณร้อยละ 30 ของนักปีนเขาที่ป่วยจากความสูง แต่เพียงไม่กี่กรณีที่จบลงด้วยการเสียชีวิต หากคุณเรียนรู้ ศึกษาและเตรียมตัวกับข้อควรระวังและทำตาม โรคนี้สามารถระบุอาการในระยะแรกเสมอ ถ้าคุณคิดว่าคุณมีอาการแล้วอย่าไปต่อ หากอาการหายไปหลังจากพักผ่อนให้เดินทางต่อไป และหากอาการยังคงไม่เปลี่ยนแปลงให้เดินลงสู่ที่ต่ำ หากอาการเริ่มแย่ลงในขณะที่คุณพักผ่อนให้รีบลงเขาทันที


อาการทั่วไป

  • ปวดหัว: ทุกครั้งที่คุณปวดหัวไม่ได้แปลว่าคุณแพ้ความสูง ในกรณีเช่นนี้ให้หยุดพัก อาการปวดศีรษะของคุณอาจมาจากสาเหตุอื่น เช่นอาจเหนื่อยเกินไป เกิดจากกาศร้อน เป็นต้น แต่หากอาการปวดหัวยังมีอยู่หลังจากพักผ่อนอย่างสมบูรณ์แล้ว รวมทั้งมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย แสดงว่าคุณแพ้ความสูง ให้หยุด อย่าไปสูงกว่านี้!

  • ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า: หลังจากเหน็ดเหนื่อยมาทั้งวัน โดยเฉพาะเมื่อคุณเดินขึ้นเขาหรือเดินเร็วกว่าปกติ แต่จะใช้เวลานานแค่ไหนอาการนี้จึงจะหายไป การพักผ่อนสักสองสามชั่วโมงจะช่วยให้พลังงานและความกระตือรือร้นกลับคืนมา หากคุณไม่ฟื้นตัวความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ายังคงอยู่หลังจากพักผ่อนแล้วให้หลีกเลี่ยงการขึ้นที่สูงกว่าเดิม

  • ชีพจร: ตรวจสอบชีพจรของคุณ โดยเฉลี่ย 60 พัลส์ต่อนาที ตามสภาพปกติ เป็นเรื่องปกติที่อัตราการเต้นของชีพจรจะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณเดินขึ้นเขาหรือเร็วกว่า อย่าตื่นตระหนกในกรณีเช่นนี้การหยุดพักระยะสั้นจะทำให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ และถ้าชีพจรประมาณ 100 พัลส์ต่อนาที ก็ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นอาการแพ้ความสูงอย่างหนึ่ง

  • อาการไอ: เป็นเรื่องปกติที่จะมีอาการไอที่อุณหภูมิแห้งและเย็นเช่นนี้ พักผ่อนและรอดูอาการหลังจากพักผ่อน หากปัญหายังคงมีอยู่ให้ใช้ความระมัดระวังที่จำเป็น

  • การหายใจรุนแรง: มันเป็นเรื่องปกติที่จะหายใจเร็วขณะที่เดินขึ้นเขาหรือเร็วกว่า! คุณควรหยุดพัก หากการหายใจของคุณไม่ปกติหลังจากพักผ่อนอาจเป็นอาการแพ้ความสูงได้

  • เบื่ออาหาร: การกินอาหารและดื่มน้ำมาก ๆ จะยิ่งดี เนื่องจากร่างกายของคุณต้องการพลังงานจำนวนมากในการทำงานอย่างเหมาะสม คุณควรดื่มน้ำและทานอาหารที่เพียงพอ การเบื่ออาหารอาจเป็นอาหารร่วมอย่างหนึ่งของการแพ้ความสูง

  • อาการเวียนศีรษะ: นี่อาจเป็นอาการที่อันตรายที่สุดของการแพ้ความสูง คุณควรระวังให้มากขึ้นถ้าคุณรู้สึกสับสนหรือเดินเซ คล้ายคนเมา สมองของคุณอาจได้รับผลกระทบในทางลบ เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะเสียสมดุลหลังจากเดินหรือเดินลำบาก หยุดพักสักครู่แล้วคุณก็พร้อมที่จะไป หากคุณยังคงเวียนหัวหรืองงกว่าที่เป็น ควรหยุดเดินและลงจากที่สูงทันที


การป้องกันเบื้องต้น

  • ยา ไดอะม็อก (Diamox 250 มก.): ยานี้จะสามารถช่วยป้องกันอาการจากการแพ้ที่สูงได้ และยังสามารถช่วยย่นระยะเวลาในการปรับตัว (Acclimatization) เมื่อขึ้นสู่ที่สูงได้ อย่างไรก็ตาม Diamox ไม่ใช่ยาที่กินแล้วจะป้องกันอาการได้ 100 % หรือกินแล้วจะทำให้ขึ้นที่สูงได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องพัก นอกจากนี้ยา Diamox ยังไม่สามารถใช้รักษาอาการแพ้ที่สูงอย่างรุนแรงได้ ในกรณีดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ยาอื่น เช่น dexamethasone หรือ nifedipine ซึงควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

  • เดินช้า ๆ : อย่าไปเร็วเกินไปเมื่อคุณอยู่ในระดับความสูง 3,000 ม. หรือสูงกว่า เดินสบาย ๆ ค่อย ๆ ไป

  • จำกัดความสูงในการเดินขึ้นแต่ละวัน: ความต่างของระดับความสูงในแต่ละวันไม่ควรเกิน 300 เมตร

  • ปรับตัวให้ชินกับสภาพ: ใช้เวลาสองคืนในการหยุดพักหลังจากเดินขึ้น ทุก ๆ 1,000 เมตร (ประมาณ 3,000 ฟุต) ในแต่ละครั้ง

  • ดื่มน้ำมาก ๆ : จากสภาพอากาศที่แห้งแล้งที่ระดับความสูง การดื่มน้ำอย่างน้อย 4 ลิตร ขึ้นไปต่อวัน เป็นประจำในแต่ละวันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพ้ความสูงได้

  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์: หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และยานอนหลับ

  • น้ำหนักสัมภาระ: สะพายเป้เบา ๆ ผู้ที่แบกกระเป๋าเป้สะพายหลังหนัก ๆ มักพบปัญหา น้ำหนักสัมภาระไม่ควรเกิน 8 กิโลกรัม

  • ให้กำลังใจตัวเอง: อย่าฟังผู้อื่น การเจ็บป่วยระดับความสูงไม่แน่นอน อายุหรือรูปร่างและขนาดของร่างกายไม่มีบทบาทในการเกิดโรค หนึ่งในสองคนเดินป่าในกลุ่มอาจมีอาการได้ตลอดเวลา แต่คนอื่น ๆ อาจไม่ อย่าปล่อยให้คนอื่นกดดันคุณ หรือคิดไปเองว่าคุณมีอาการ

ติดตามข่าวสารเนปาล หรือ พูดคุยกับเราได้ใน @thainepaltravels

ดู 492 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Σχόλια


bottom of page