Bisket Jatra Festival
top of page

Bisket Jatra Festival

เทศกาลมหาสงครามชักเย่อ ที่ใหญ่ที่สุดในเนปาล


ประเพณี บิสเกต ยาตรา (Bisket Jatra)เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของเมืองบักตาปูร์จัดขึ้นในช่วงวันปีใหม่ของประเทศเนปาล ในปีนี้คือ วันที่ 13 เมษายน 2020 หรือ วันที่ 1 Baisakh 2077 การจัดงานจะมีทั้งหมด 9 วัน 8 คืน และเทศกาลอยู่ในช่วง วันที่ 9-17 เมษายน 2020 แต่เนื่องจากในปีนี้เกิดโรคระบาด Covid-19 ขึ้น ทำให้ต้องยกเลิกการจัดเทศกาลนี้ไป เทศกาลบิสเกตยาตรา เป็นเทศกาลการชักเย่อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเนปาล ผู้คนจำนวนเป็นร้อยเป็นพันจะมารวมตัวกันในเทศกาลนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะได้ยินว่ามีใครบางคนเสียชีวิต จากการถูกล้อขนาดใหญ่ของราชรถขนาดใหญ่เหยียบ ตำนานเบื้องหลังงานเทศกาลนั้นเป็นเรื่องที่เหลือเชื่ออย่างไม่น่าเชื่อ!


ตำนานเทศกาล บิสเกตยาตรา


The chariot's Badrakali of Bisket Jatra. รถไม้ที่ใช้ในการชักกะเย่อ

ย้อนกลับไปในสมัย ราชวงศ์มัลลาเริ่มต้นที่กษัตริย์ชื่อ จักรโยติ มัลลา (Jagjyoti Malla)แห่งเมืองบักตาปูร์ ที่มีชื่อเสียงในหุบเขากาฐมาณฑุในยุคของราชวงศ์ มัลลา กินเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1200 ถึง 1769 ภายใต้งานศิลปะและสถาปัตยกรรมของชาว เนวารี (Newari)ในหุบเขาถูกแบ่งออกเป็นสามก๊กโดยกษัตริย์ ยักซา มัลลา ในปี ค.ศ. 2025 กับลูกชายทั้งสามของเขา โดยได้แบ่งการปกครองให้กับลูกชายทั้งสาม คือเมืองกานติปูร์ หรือเมืองกาฐมาณฑุในปัจจุบัน เมืองละลิตปูร์หรือเมืองปาทัน และ บัตกอนหรือเมืองบักตาปูร์ รัชสมัยของกษัตริย์ ประเทพ มัลลา ของเมืองกานติปูร์ (ปี ค.ศ.1641-1674) เป็นช่วงเวลาของความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ด้วยการสร้างอนุสาวรีย์ที่งดงามมากมายเช่นพระราชวังหนุมานโดการ์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ พระราชวังกาฐมาณฑุ, วัดของเจ้าแม่ทาเลจู (Taleju) และ รานิโพครี (Rani Pokhari)ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกาฐมาณฑุ


Kathmandu Durbar Square

Taleju Temple in Kathmandu

Rani Pokhari (Queen pond) photo by flick.com

กษัตริย์จักรโยติ มัลลา แห่งเมืองบักตาปูร์ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นเลิศทางศิลปะเทียบเท่ากับกษัตริย์ประเทพ มัลลา ก็ตาม แต่ท่านก็ยังได้รับการจารึกชื่อไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ ในฐานะกษัตริย์ผู้ริเริ่ม ประเพณี บิสเกตยาตรา ซึ่งเป็นเทศกาลที่ไม่เหมือนใครของเมืองบักตาปุร์ เขาหลงใหลในตำนานและนิทานพื้นบ้านและเป็นเพราะตำนานที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่ บิสเกตยาตรา ก่อตั้งขึ้นในฐานะงานเทศกาลประจำปี


จากตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งเคยมีเจ้าหญิงที่สวยงามผู้ซึ่งดูเหมือนจะถูกลิขิตไว้ให้อยู่โดยไม่มีสามี เพราะเธอตกอยู่ภายใต้คำสาปอันน่ากลัว ที่กำหนดว่าใครที่โชคร้ายพอที่จะแต่งงานกับเธอจะตายในวันรุ่งขึ้น จากนั้นเธอก็แต่งงานหลายครั้ง แต่มักพบว่าสามีของเธอไร้ชีวิตข้าง ๆเธอ เมื่อเธอตื่นในตอนเช้า เรื่องราวดำเนินไปไม่มีใครสามารถอธิบายปรากฏการณ์แปลก ๆ ได้ ชายหนุ่มจำนวนมากเสียชีวิตหลังจากแต่งงานกับเธอ โดยที่การสมรสไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งหมดคือความสิ้นหวังของราชวงศ์


อยู่มาวันหนึ่งเจ้าชายเพื่อนบ้านที่เดินทางมาถึงเมืองบักตาปูร์ แต่ก่อนเข้าเมืองเขาได้พบกับหญิงชรา(เทพธิดาแห่งบัดรากาลี มเหสีของพระไภราพปลอมตัวมา) ในป่าใกล้เคียง เธอบอกเขาถึงเจ้าหญิงและคนรักที่ตาย เธออธิบายว่าพวกมันถูกงูขนาดใหญ่สองตัวที่เลื้อยออกมาจากรูจมูกของเธอในขณะที่เธอหลับ พวกมันจะค่อย ๆ ตัวใหญ๋ขึ้นและก็ฆ่าคนรักของเจ้าหญิง จากนั้นพวกมันก็จะลดขนาดลง และคลานกลับเข้าไปในรูจมูกของเธอ


Taumadhi Square, Bhaktapur, Nepal

หลังจากนั้นเจ้าชายจึงตกลงแต่งงานกับเจ้าหญิง ในคืนแรกของการเข้าหอ ในขณะที่นอนอยู่บนเตียงเจ้าหญิงเริ่มนอนกรนเบา ๆ และหลับไป เจ้าชายทำตามคำแนะนำของหญิงชราตื่นตัวอยู่เสมอ เขาตั้งใจว่าจะไม่ปิดตาไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เขาจ้องมองภรรยาใหม่ของเขา ทุกอย่างดูปกติไปสักพัก ทันใดนั้นเขาก็เห็นอะไรบางอย่าง มีงูสองตัวเลื้อยออกมาจากรูจมูกของเจ้าหญิง!


เขารู้สึกตกใจอยู่สักครู่หนึ่ง เขาไม่เคยเห็นภาพนี้มาก่อน! แต่แล้วเมื่อได้สติ เขารวบรวมความกล้าดึงดาบและฆ่างูร้าย ในตอนเช้าเมื่อเขาปรากฏตัวที่ระเบียงห้องนอนของเจ้าหญิงประชาชนต่างก็ชื่นชมยินดี เจ้าชายรอดชีวิต และเป็นผู้กล้าหาญที่ฆ่างูตาย เขาแสดงซากงูทั้งสองที่ตายแล้ว และมีความยินดีอย่างยิ่ง


เป็นเรื่องราวที่กลายเป็นตำนานโปรดของ กษัตริย์จักรโยติ มัลลา และเขาหวังว่าตำนานนี้จะเป็นที่ระลึกถึงของคนรุ่นหลัง ดังนั้นเขาจึงสั่งให้จัดงานเทศกาล เพื่อรำลึกถึงมันทุกปีในเมืองบักตาปูร์ แต่เดิมเรียกว่า บิสยากุยาตรา แต่ตอนนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า บิสเกตยาตรา (ในภาษาเนวา คำว่า บิ หมายถึง งู และ สยากุ หมายถึงฆ่า ยาตรา หมายถึงเทศกาล)นอกจากราชรถขนาดใหญ่ของเทพลอร์ดไภราพ ยังมีราชรถของเทพธิดาบัดรากาลี เคียงคู่มาพร้อมกันด้วย เสาไม้ขนาด 70 ฟุตที่รู้จักกันในชื่อโยชินถูกสร้างขึ้นที่จัตุรัสขนาดใหญ่ ผ้าสายยาวที่ห้อยลงมาจากไม้กางเขนเป็นตัวแทนของงูร้ายสองตัว


Yoshin, Photo by: myRepublica

เทศกาลจะมีทั้งหมดเก้าวัน ในปีใหม่สุริยคติซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปีใหม่เนปาล วันปีใหม่ตรงกับวันที่ห้าของเทศกาลและในปีนี้ตรงกับวันที่ 13 เมษายน 2020 ปีใหม่เริ่มต้นด้วยการนำเสาโยชินลง เป็นงานเทศกาลที่ใหญ่ สร้างความตื่นเต้นอันยิ่งใหญ่และมีผู้เข้าร่วมหลายร้อยคน


บิสเกตยาตรา เป็นหนึ่งในเทศกาลของชาวเนวารี ที่ซับซ้อนที่สุดในหุบเขาและเกี่ยวข้องกับเทพไภราพ ​​และมเหสี คือเทพธิดาบัดรากาลี ในเทศกาลนั้นเทวรูปที่เคารพของ เทพธิดาบัดรากาลี ถูกนำออกมาจากบ้านพระเจ้าของเธอซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจัตุรัสเตามาถิ แต่เทวรูปของเทพไภราพ ​​ถูกเก็บไว้ในวัดไภราพนาถ เป็นบ้านสองชั้นซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของจัตุรัส เทวรูปไภราพ มีเพียงแค่หัวเป็นที่รู้จักกันในนาม กาสิไภราพ ​​โดยชาวฮินดูเชื่อว่าท่านมาจาก บานาราส กาสิไภราพ ซึ่งเป็นชื่อของเมืองพาราณสี ในประเทศอินเดีย โดยเชื่อกันว่าท่าน​​เป็นหัวหน้าของ ไภราพกาสิ

Bhairavnath Temple, Bhaktapur, Nepal

เทศกาล บิสเกตยาตรา นี้เกี่ยวอะไรกันกับพระไภราพ และทำไมท่านจึงมีแต่หัวตัวท่านไปไหน นี่ก็เป็นอีกหนึ่งตำนานเช่นกัน ในตำนานเล่าว่า เทพกาสิไภราพ แอบมาเข้าร่วมในเทศกาลแห่งหนึ่งที่เมืองบักตาปูร์ มีจอมขมังเวทย์ ยืนอยู่ใกล้ ๆ ท่านและจำท่านได้ จึงใช้ความรู้อันเชี่ยวชาญด้วยพลังเวทย์มนตร์ของเขา พยายามดักจับท่านไภราพ ท่านไภราพรู้ตัวจึงพยายามที่จะหนีโดยการดำดิน จอมขมังเวทย์ เห็นเช่นนั้น จึงชักดาบของเขาและตัดหัวของเทพไภราพออก ดังนั้นหัวของ เทพไภราพ จึงอยู่ในวัดไภราพนาถ จนถึงทุกวันนี้

Bhairav chariot

เทศกาล บิสเกตยาตรา จะเกี่ยวข้องกับราชรถสองคันและเสาโยชิน นี่เป็นเทศกาลลากรถเพียงงานเดียวในบักตาปูร์ ราชรถขนาดใหญ่ของ เทพไภราพ จะนำมาประกอบและนำออกมาใช้ในเทศกาล (หลังใช้แล้วราชรถจะถูกแยกเป็นชิ้นส่วนและเก็บไว้ข้างวัดไภราพนาถ) ที่จัตุรัสเตามาถิ ในขณะที่ราชรถขนาดเล็กของเทพธิดาบัดรากาลี จะถูกเก็บไว้ใกล้วัดไภราวิ และมีการสร้างเสาโยชินขึ้นสองเสาในช่วงเทศกาล ที่จัตุรัสเครื่องปั้นดินเผา


Potter's Square, Bhaktapur, Nepal

แม้แต่ท่อนไม้ที่นำมาใช้ทำเสาโยชิน ก็ต้องมีวิธีการเลือกเช่นกัน โดยวันก่อนเทศกาลจะเริ่มต้นผู้ชายจากวรรณะเซมิ (ช่างสกัดน้ำมัน) เดินทางไปที่ป่าใกล้เคียงทางตะวันออกของเมือง จะมีการล่ามแพะแบบหลวม ๆ ชายเหล่านั้นจะคอยเฝ้าดูและติดตามแพะ เมื่อไดที่แพะเดินไปถูตัวกับต้นไม้ แพะที่น่าสงสารนั้นจะถูกบูชายัญโดยการตัดคอตรงหน้าต้นไม้ที่ถูกเลือกอย่างไม่มีโชค ต้นไม้จะถูกโค่นและนำมาทำเสาโยชิน(เชื่อกันว่าเสาโยชินนี้เป็นตัวแทนของพระเจ้า) จากนั้นลำต้นทั้งสองจะถูกลากไปยังบักตาปูร์ซึ่งมักใช้เวลาหลายวัน นอกจากนี้ยังมีเสาโยชินที่ใหญ่กว่าสองเสาที่จัตุรัส โยชินเคว

ในขณะที่ที่จัตุรัสเตามาถิ ผู้ชายจากวรรณะต่าง ๆ เช่นช่างไม้ ช่างทาสี และช่างสกัดน้ำมัน มารวมตัวกันเพื่อประกอบราชรถของเทพไภราพ งานนี้จะเริ่มประมาณสองสัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มต้นเทศกาล จะเห็นได้ว่าเทศกาลนี้มีความยิ่งใหญ่เพียงใด นอกจากนี้ที่น่าสนใจของเทศกาลนี้คือการที่ตัวแทนข้าราชการจากเมืองกาฐมาณฑุ ถือดาบเดินไปตามเส้นทางที่เทศกาลนี้ต้องผ่าน ดาบเล่มนี้เป็นตัวแทนของกษัตริย์มัลลา ผู้เริ่มต้นเทศกาล และถูกส่งลงมาหลายชั่วอายุคน

จัตุรัสเตามาถิ จะเป็นสถานที่สร้างราชรถของเทพไภราพ และเป็นสถานที่ ที่นำราชรถของเทพธิดาบัดรากาลีมา ใครที่มาเที่ยวเมืองบักตาปูร์ในช่วงสองสัปดาห์ก่อนถึงเทศกาล จะมีโอกาสได้เห็นการทำงานของชาวบ้านในการประกอบราชรถที่จัตุรัสเตามาถิ จึงถือเป็นพื้นดินส่วนกลางของเมืองบักตาปูร์ และนี่คือที่ ที่เริ่มต้นของเทศกาล


Taumadhi Square, Bhaktapur, Nepal

บิสเกตยาตรา เป็นงานเฉลิมฉลองประจำปีที่เต็มไปด้วยความทุ่มเทและความแข็งแกร่ง ในชุมชนของเมืองบักตาปูร์ เรามาดูกันว่า ทั้ง 9 วัน ของเทศกาลทำอะไรกันบ้าง


วันที่หนึ่ง

ในวันแรกของเทศกาลเจ้าหน้าที่ของรัฐถือดาบเข้าสู่วิหารเจ้าแม่ทาเลจู อันศักดิ์สิทธิ์ (ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้าร่วม) มอบดาบให้แก่นักบวชในวิหาร จากนั้นนักบวชคนนี้รับบทบาทของราชามัลลาที่ถือดาบนั่งบนราชรถของเทพไภราพ ตลอดเทศกาล ว่ากันว่าในช่วงรัชสมัยของกษัตริย์ราชามัลลาเองก็จะนั่งรถม้า นักบวชซึ่งเป็นตัวแทนของกษัตริย์ จะมาพร้อมกับปราชญ์ปุโรหิต หรือหัวหน้านักบวชพร้อมกับตัวแทนของเกษตรกรและองครักษ์ ขบวนของตัวแทนพร้อมผู้ดูแลถือร่มสีสันสดใสไว้บนหัวของเขาเดินทางมาถึงจัตุรัสเตามาถิ และเขาส่งสัญญาณให้นำเทวรูปของเทพไภราพ ออกจากวัดไภราพนาถ มีชายที่แข็งแกร่ง แกว่งโซ่เหล็กเพื่อเคลียร์ทางนำสิ่งที่ลึกลับออกมา (วัตถุรูปวงรีห่อด้วยผ้า) เป็นที่เชื่อกันว่าเทวรูปดั้งเดิมของเทพไภราพ ถือโดยคนเหล่านี้และนำไปที่บ้านของเทพไภราพ ​​ที่กาฺฮิติ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ เตามาถิ


เทวรูปซ่อนอยู่ในถ้ำด้านในของวัดและจะนำออกมาในช่วงเทศกาล โดยจะถูกนำลงจากห้องชั้นบนและวางไว้ในราชรถ หลังจากนั้น "ตัวแทน" จะปีนขึ้นราชรถและนั่งในตำแหน่งของเขา เป็นที่น่าสนใจว่าบุคคลผู้ทำหน้าที่เหล่านี้สวมเครื่องแต่งกายจากยุค มัลลา (ศตวรรษที่ 18) จากนั้นราชรถของเทพบัตรากาลี ที่คันเล็กกว่า มีเทวรูปของเทพธิดาบัตรากาลีอยู่ข้างในจะถูกนำมาต่อกับราชรถขนาดใหญ่ มาถึงตอนนี้จัตุรัสเตามาถิ เต็มไปด้วยผู้คนที่กำลังรอคอยด้วยความตื่นเต้น สำหรับสงครามชักเย่อซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น มีการแสดงการเต้นรำในจัตุรัส และนักดนตรีที่สืบเชื้อสายมาจากจัตุรัสตีกลองแบบดั้งเดิมโบราณ และเป่าขลุ่ยในขบวน


People waiting for the tug of war

ในวันแรกราชรถทั้งสอง จะถูกลากไปที่จัตุรัสกาฮิติ โดยการชักเย่อจะเริ่มขึ้นในช่วงเย็น มีความตื่นเต้นมากมายพร้อมกับเสียงเชียร์ดังสนั่น ราชรถจะถูกดึงโดยคนหลายร้อยคนเนื่องจากสงครามชักเยื้อระหว่างชาวบ้านที่อาศัยอยู่ส่วนบนและส่วนล่างของจัตุรัสเตามาถิ ราชรถจะถูกลากถูกดึงไปครึ่งเมือง พวกเขาพยายามที่จะดึงราชรถไปตามทิศทางของพวกเขาเพราะวันแรกคือ Deo Kwayo Bijaayegu หมายถึง "พระเจ้าลงมาสู่ฝูงชนจากบ้านศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า" เมื่อการชักเย่อสิ้นสุดลง ราชรถจะถูกดึงโดยทั้งสองทีมจับมือกันจนกว่าจะถึงกาฮิติ ราชรถจะจอดอยู่ที่นั่นตลอดคืน


ที่ กาฮิติ "ตัวแทน" และเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ กินอาหารที่ได้รับพร (ประสาด) จากเทวรูปเทพไภราพและลงจากราชรถและกลับไปที่วัดทาเลจู (วัดนี้มีบทบาทสำคัญในหลายเทศกาลรวมทั้ง เทศกาลดาไซ) พร้อมกับนักดนตรีและคณะผู้ติดตาม วัดทาเลจูตั้งอยู่ภายในพระราชวังบักตาปูร์และด้วยเหตุนี้ การกลับไปยังพระราชวังของตัวเแทน เพื่อเป็นการกลับสู่วังของกษัตริย์ของยุคมัลลา


Bhaktapur Durbar Square, Bhaktapur, Nepal

วันที่สอง

จากนั้นในวันที่สองชาวบ้านเยี่ยมชมราชรถ และสวดมนต์ในขณะที่กลุ่มเฉพาะดูแลราชรถและทำพิธีกรรมต่าง ๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในวันนี้ มันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับวันก่อนหน้า


วันที่สาม

วันที่สามนั้นมีงานฉลอง ซึ่งเป็นไปตามวัฒนธรรมของชาวเนวารี มีการดื่มแอลกอฮอล์อาหารที่มีเนื้อสัตว์มากมาย ในขณะเดียวกันที่วัดทาเลจูก็มีการทำพิธีลับ มีการบูชายัน แพะและควายเพื่อเอาใจเทพธิดา มีนักบวชเพียงไม่กี่คนที่ได้รับอนุญาตภายในวัดศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ในการประกอบพิธีกรรม ชาวบ้านเยี่ยมชมราชรถ และสวดมนต์


วันที่สี่

วันที่สี่เป็นวันสุดท้ายของปี (ปีใหม่เนปาล)มีการสร้างเสาโยชิน สองแห่งของเมืองบักตาปูร์ เสาโยชินขนาดเล็กตั้งขั้นในจัตุรัสเครื่องปั้นดินเผาในช่วงเวลาเที่ยง และอีกเสาที่มีแขนสองข้างซึ่งหมายถึงแขนของพระเจ้าและมีผ้ายาวสองเส้นพาดลงมา(เป็นงู)สร้างขึ้นที่เขตโยชินเควในตอนเย็นผู้คนหลายพันคน มารวมตัวกันเพื่อเป็นสักขีพยานในการเฉลิมฉลองที่ไม่ซ้ำกันนี้ ราชรถทั้งสองจะถูกลากไปยังโยชินเคว มีความเชื่อกันว่าพระเจ้าและเทพธิดานั้นสังเกตการสร้างเสาโยชิน หลังจากนั้นจึงมีพิธีกรรมบูชาเทพทั้งสอง รวมทั้งเทพต่าง ๆ ที่อยู่ในเมืองบักตาปูร์ด้วยเช่นกัน


วันที่ห้า

วันที่ 5 เป็นวันสิ้นปีเก่าและต้นปีสุริยคติใหม่ จะมีการโค่นเสาโยชินในช่วงบ่ายเป็นสัญลักษณ์เริ่มต้นปีใหม่เนปาล และเดือนแห่งจักษ์ รวมถึงหมายถึงการฆ่างู หลังจากที่มีการตั้งเสาผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง คนหลายร้อยคนอาบน้ำในแม่น้ำหนุมานเต ซึ่งไหลผ่านโยชินเคว หลังจากเสร็จพิธีการโค่นเสาโยชินแล้ว ราชรถทั้งสองถูกลากกลับไปยัง กาฮิติ อีกครั้งซึ่งเป็นที่ที่เชื่อว่าเทพ กาสิไภราพ ถูกตัดคอที่นี่ ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของเทศกาล ผู้คนจะกราบไหว้และบูชา เฉลิมฉลองวันปีใหม่ นอกจากชาวบักตาปูร์เองแล้ว ยังมีผู้คนจำนวนมากจากกาฐมาณฑุและที่ต่างๆ ของหุบเขามาเป็นพยานในงานเทศกาล


วันที่หก

วันที่หกเป็นการสักการะเทพธิดา มหากาลี และมหาลักษมี สองในแปดเทพธิดาที่ปกป้องคุ้มครองชีวิตของชาวบักตาปูร์ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ออกมาในขบวนแห่ถือภาพของเทพธิดาทั้งสอง ภาพสองรูปของเทพชนกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าและเทพธิดาทั้งสองมารวมกัน ในขณะที่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น ๆ ก็มีการจัดเทศกาล ในทิมิ ผู้คนเฉลิมฉลองสิดูรยาตรา ผู้คนต่างพากันดื่มด่ำกับพลังแห่งความสุขในการต้อนรับปีใหม่และฤดูใบไม้ผลิ ราชรถของพระพิฆเนศและไภราพ นั้นถูกนำมารวมกันจากสองแห่งที่แตกต่างกันในจัตุรัสเครื่องปั้นดินเผา ในขณะที่ผู้คนขว้างผงสีแดงสดต่อกันเพื่อทำเครื่องหมาย สิดูรยาตรา ในทำนองเดียวกันในภาคตะวันออกของวัด ดัตตาริยา ในตอกโซยามาดิ ก็มีงานเฉลิมฉลองที่มีราชรถขนาดเล็กของพระเจ้าบรามาเยนิ และมเหวาริ

Sindur Jatra in Thimi, photo by: Kathmandu post

Sindur Jatra photo by: Kathmandu post

วันที่เจ็ด

ในวันที่เจ็ดของบิสเกตยาตรา มีการเฉลิมฉลองการนมัสการพระเจ้าและเทพธิดาท้องถิ่นในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อน ครอบครัว และญาติมารวมตัวกัน เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลและมีงานเลี้ยงพิเศษด้วย


วันที่แปด

วันที่แปดเป็นวันที่มีสีสันเมื่อผู้คนใส่ชุดแบบดั้งเดิมเข้ามาในถนนและเยี่ยมชมเมือง ประชาชนสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดของพวกเขา พร้อมกับนักดนตรีที่เล่นดนตรีแบบดั้งเดิมเยี่ยมชมสถานที่ ที่มีบ้านพระเจ้าและวัดรอบเมือง มีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ซึ่งรวมถึงอาหาร ขนมหวาน ข้าว เต้าหู้ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วันนี้ยังเป็นเครื่องหมายการกลับมาของเทพเจ้าที่บ้านของตน


วันที่เก้า

วันสุดท้ายของเทศกาล ตอนเช้ามีพิธีเพื่อนำเสาโยชินเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ที่จัตุรัสเครื่องปั้นดินเผาลง จากนั้นเมื่อเย็นลง Deo Tha Bijaayegu แปลว่า "ตอนนี้พระเจ้ากลับไปที่บ้านอันศักดิ์สิทธิ์ของเขาเอง" ราชรถของเทพไภราพ ถูกดึงไปสู่ทิศทางที่สูงขึ้นจาก กาฮิติ ไปยังเตามาถิ ในวันนี้มหาสงครามชักเย่อเกิดขึ้นอีกครั้งเหมือนวันแรก และในที่สุดราชรถถูกลากกลับไปยังจัตุรัสเตามาถิ ซึ่งมีราชรถของบัดรากาลีรออยู่ เทาวรูปไภราพ ถูกอันเชิญเข้าสู่วัดไภราพนาถ และเทพธิดาบัดตรากาลีถูกอันเชิญไปยังบ้านพระเจ้าของเธอ





เมื่องานเฉลิมฉลองจบลง“ ตัวแทน” และคณะผู้ติดตามของเขากลับไปที่วัดทาเลจูพร้อมตัวแทนที่ถือดาบและพวกเขาก็มาพร้อมกับนักดนตรี ตัวแทนส่งคืนดาบและกลายเป็นพราหมณ์สามัญอีกครั้งไม่ได้เป็นตัวแทนของกษัตริย์มัลลา อีกต่อไป ดาบจะถูกส่งกลับไปยังเมืองฐมาณฑุ นี่เป็นอีกหนึ่งวันสำหรับการเฉลิมฉลองและมันก็ดำเนินต่อไปในเมืองบักตาปูร์ทั้งหมด ด้วยการฉลองครั้งนี้เทศกาลบิสเกตยาตรา ที่แข็งแกร่ง จากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ได้จบลงอย่างงดงาม


ถ้าชอบบทความของเรา ร่วมกดไลค์ กดแชร์ และติดตามงานเขียนของเราได้ในเวปไซต์ของเรา


อ้างอิงบทความจาก #ECSNEPAL #wikipedia #Bhaktapur Tourism Development Committee #Nepal Tourism Board





ดู 173 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page