'Climbers will need to bring poop back to Everest BC: Find out why and how'
top of page

นักปีนเขาเอเวอเรสต์ ต้องนำอุจาระ ตัวเองกลับมาที่เบสแคมป์ (Climbers will need to bring poop back to Everest BC)

"เนปาล ออกกฎใหม่ นักปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขาใกล้เคียง ต้องนำอุจาระของตัวเองกลับลงมาด้วย"


Gorarakshap village the last village before Everest Base Camp
Gorakshap village, credit photo: Tongchana journey

Climbers will need to bring poop back to Everest BC?

เห็นกฎนี้แล้ว อิชั้นจินตนาการ ภาพที่มาพร้อมกลิ่นโดยทันที โอ้แม่เจ้า !!! แบกของตัวเองยังโอเค แต่เมื่อใดแอบไปเห็นของคนข้าง ๆ เป็นแบบก้อนแห้ง ยังพอทน เป็นแบบน้ำคลุกคลิกนี่สิ ฮ่า ฮ่า อันนี้ไม่อยากจะคิด เรามาหาคำตอบการที่จะทำให้อุนจิเหล่านี้ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ เพื่อให้นักปีนเขาแบกกลับมาอย่างสบายใจในบทความนี้กันค่ะ


มิงมา เชอร์ปา ประธานเทศบาลชนบทปาซัง ลามู (Pasang Lhamu rural municipality) บอกกับบีบีซีว่า


“ภูเขาของเราเริ่มส่งกลิ่นเหม็น” เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงเกินไป สิ่งปฏิกูลที่หลงเหลืออยู่บนเอเวอเรสต์จึงไม่สลายตัวอย่างสมบูรณ์ เราได้รับข้อร้องเรียนว่ามองเห็นอุจจาระของมนุษย์บนโขดหิน และนักปีนเขาบางคนล้มป่วย เนื่องจากมีการปนเปื้อนในน้ำและอาหาร ทำลายภาพลักษณ์ ของภูมิภาคเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้

เทศบาลภูมิภาคเอเวอเรสต์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเวอเรสต์ ได้นำกฎใหม่มาใช้ "ต่อไปนี้นักปีนเขาที่ปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก และภูเขาโลตเซที่อยู่ใกล้เคียง จะได้รับคำสั่งให้ซื้อถุงขยะใส่อุจาระ (poo bags) ที่เบสแคมป์ ซึ่งจะถูกตรวจสอบเมื่อเดินทางกลับลงมาถึงเบสแคมป์"


Mt. Everest the highest mountain in the world, view from Gorakshap
Mt. Everest view from Gorakshap

คุณถ่ายอุจจาระบนภูเขาที่ไหน?


ในช่วงฤดูปีนเขา นักปีนเขาใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่เบสแคมป์เพื่อปรับสภาพให้ชินกับระดับความสูงและสภาพอากาศ มีเต็นท์ห้องน้ำแยกเป็นสัดส่วน โดยมีถังด้านล่างสำหรับเก็บอุจจาระ

แต่เมื่อนักปีนเขาเริ่มต้นการเดินทางขึ้นไปในที่สูงขึ้น การเก็บสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ก็จะยากขึ้น นักปีนเขาและเจ้าหน้าที่ ส่วนใหญ่มักจะขุดหลุม แต่ยิ่งคุณขึ้นไปบนภูเขาสูง บางจุดก็มีหิมะน้อย ดังนั้นคุณจึงต้องเข้าห้องน้ำในที่โล่ง


มีเพียงนักปีนเขาไม่กี่คนที่นำอุจจาระกลับคืนมาในถุงย่อยสลายได้ หลังจากปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ นอกจากอุจจาระแล้ว ขยะต่าง ๆ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่บนเอเวอเรสต์และภูเขาอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ แม้ว่าจะมีการรณรงค์ทำความสะอาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการเก็บขยะประจำปีที่ทำโดยกองทัพเนปาล


Tent on the way to summit Mt.Everest
Tent on the way to summit Mt.Everest, Credit photo: Montana Twinprai

'ห้องน้ำแบบเปิด'


ขยะยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคมป์ที่สูงขึ้นไป ซึ่งการจัดการเข้าถึงได้ยาก” แม้ว่าจะไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการ แต่เทศบาลภูมิภาคเอเวอเรสต์ได้ประเมินว่ามีอุจจาระมนุษย์ประมาณ 3 ตัน ระหว่างแคมป์ที่หนึ่งที่ด้านล่างของเอเวอเรสต์ ไปจนถึงแคมป์ที่สี่ตรงไปยังยอดเขา โดยเชื่อกันว่าครึ่งหนึ่งอยู่ใน เซาท์คอล (South Col) หรือที่รู้จักในชื่อแคมป์สี่


สเตฟาน เค็ค ไกด์ภูเขานานาชาติที่จัดคณะปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ กล่าวว่า เซาท์คอลได้รับขนานนามว่าเป็น "ห้องน้ำแบบเปิด" ที่ระดับความสูง 7,906 เมตร (25,938 ฟุต) เซาท์คอล ทำหน้าที่เป็นฐานก่อนที่นักปีนเขาจะปีนไปถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และโลตเซ ที่นี่ภูมิประเทศมีลมพัดแรงมาก และ

แทบจะไม่มีน้ำแข็งและหิมะเลย ดังนั้นคุณจะเห็นอุจจาระของมนุษย์อยู่รอบๆ


ขณะนี้ SPCC ได้รับอนุญาตจากเทศบาลชนบทปาซาง ลามู โดยจัดงบประมาณซื้อถุงใส่อุจาระประมาณ 8,000 ใบ จากสหรัฐอเมริกา สำหรับนักปีนเขาชาวต่างชาติประมาณ 400 คน และเจ้าหน้าที่สนับสนุนการปีนเขาอีก 800 คน เพื่อใช้ในฤดูกาลปีนเขาที่กำลังจะมาถึง ที่จะเริ่มในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้



Line of trekkers to Everest Base Camp
Line of trekkers to Everest Base Camp

ถุงใส่อุนจิเหล่านี้มีสารเคมีและผงที่ทำให้อุจจาระของมนุษย์แข็งตัวและทำให้ไม่มีกลิ่นเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉลี่ยแล้ว นักปีนเขาจะผลิตอุจจาระได้ 250 กรัมต่อวัน โดยปกติแล้วนักปีนเขาจะใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์ในแคมป์ที่สูงเพื่อพยายามพิชิตยอดเขา นายชีริง อธิบายว่า "เราวางแผนที่จะมอบถุงให้นักปีนเขาคนละสองใบ โดยแต่ละถุงสามารถใช้ได้ห้าถึงหกครั้ง"


นายดัมบาร์ ปาราจูลี ประธานสมาคมการปีนเขาแห่งเนปาล กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “มันเป็นสิ่งที่ดีอย่างแน่นอน และเรายินดีที่จะมีส่วนร่วมในการทำให้สิ่งนี้ประสบความสำเร็จ” เขากล่าวว่าองค์กรของเขาแนะนำว่าควรนำสิ่งนี้มาเป็นโครงการนำร่องบนเอเวอเรสต์ก่อน จากนั้นจึงค่อยดำเนินการบนภูเขาลูกอื่นๆ


นายมิงมา เชอร์ปา ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของสมาคมนักปีนเขาเนปาล และเป็นไกด์ปีนเขา ชาวเนปาลคนแรกที่ปีนภูเขาทั้ง 14 ลูกที่ความสูงเกิน 8,000 เมตร กล่าวว่า ได้ทดลองและทดสอบการใช้ถุงดังกล่าวเพื่อจัดการขยะของมนุษย์แล้วบนภูเขาอื่นๆ เขาใช้ถุงในลักษณะนี้บนภูเขาเดนาลี (ยอดเขาที่สูงที่สุดในอเมริกาเหนือ) และในแอนตาร์กติกด้วย นั่นคือเหตุผลที่เราควรสนับสนุนให้ใช้ถุงดังกล่าว กล่าว ซึ่งตรงกับความคิดเห็นของ นายเค็ก ไกด์ปีนภูเขานานาชาติ แนวคิดนี้จะช่วยทำให้ภูเขาสะอาดได้


Colour full of tent in Everest Base Camp
Everest Base Camp

รัฐบาลกลางของเนปาลได้ประกาศกฎการปีนเขาหลายข้อในอดีต แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าหลายกฎไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสม สาเหตุหลักประการหนึ่งคือไม่มีเจ้าหน้าที่ประสานงานภาคพื้นดิน เจ้าหน้าที่ของรัฐควรจะประจำอยู่กับทีมปีนเขาที่เบสแคมป์ แต่หลายคนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ที่นั่นเลย


นายมิงมา ประธานเทศบาลชนบทปาซัง ลามู กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่รัฐมักจะไม่อยู่ประจำการที่เบสแคมป์ ซึ่งนำไปสู่การทำผิดกฎของนักปีนเขาทุกประเภท รวมไปถึงการปีนเขาโดยไม่มีใบอนุญาต เป็นต้น หลังจากนี้ ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป เราจะเปิดสำนักงานติดต่อและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามมาตรการใหม่ของเรา รวมถึงการให้นักปีนเขานำอุจจาระกลับคืนมาด้วยเช่นกัน”


เนปาลมียอดเขาที่สูงมากกว่า 8000 เมตร ทั้งหมด 8 แห่งจากทั้งหมด 14 แห่ง ของโลก ตามข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวเนปาล จนถึงวันที่ 14 พฤษภาคมปีที่แล้ว รัฐบาลสร้างรายได้ 5.8 ล้านดอลลาร์จากการท่องเที่ยวบนภูเขา และ 5 ล้านดอลลาร์จากเอเวอเรสต์เพียงแห่งเดียว ถือว่าการปีนยอดเขาเอเวอเรสต์สร้างรายได้ให้กับประเทศเนปาลเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่า การสร้างมลพิษบนภูเขาเอเวอเรสต์ก็สูงมากเช่นกัน


ปีที่แล้วยังเป็นวันครบรอบ 70 ปีของการพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ครั้งแรกของ Tenzing Norgay Sherpa และ Edmund Hillary


เรามาติดตามดูกันต่อไปว่า รัฐบาลเนปาลจะทำตามมาตรการที่กล่าวมาได้หรือไม่ อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยเช่นกัน เป็นกำลังใจให้รัฐบาลเนปาลนะคะ ต้องสู้ ต้องสู้ จึงจะชนะ เจิน ๆ มาเอง


credit news: bbc.com/news


สนใจทริปเอเวอเรสต์เบสแคมป์ คลิกที่ชื่อทริปได้เลยค่ะ

ดู 66 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page