เอเวอร์เรส Icefall Doctors: หมอผู้มากับเชือกและบันได at Everest
top of page

เอเวอร์เรส Icefall Doctors: หมอผู้มากับเชือกและบันได at Everest | Thai Nepal Travels

Icefall Doctors คือใคร? ไปทำอะไรที่เอเวอร์เรส? ทำไมหมอต้องแบกเชือกและบันได? หมอจะไปรักษาใคร?


Icefall doctors
icefall doctors

ตามแอดมินป้ามาค่ะ ป้าจะมาเผือกให้อ่าน พวกเขาทั้งหลายไม่ได้เป็นหมอแต่อย่างใด ไม่ได้มีดีกรี Ph.D. แต่เป็นทีมงานและฟันเฟืองที่สำคัญที่สุดในการปีนยอดเขาเอเวอร์เรส พวกเขาเป็นผู้ติดตั้งบันได และเชือก รวมทั้งดูแล บำรุงรักษา และตรวจเช็คเส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวก ให้กับผู้ปีนยอดเขาเอเวอร์เรส


ขาดหมอเหล่านี้ไปคุณ ๆ ทั้งหลายก็ไปไม่ถึงเอเวอร์เรสนะคะ โดยโครงการ Icefall doctors ได้เริ่มดูแลความปลอดภัยมาตั้ง ปี ค.ศ. 1997 และในปีนี้ 17 เมษายน 2024 พวกเขา เดินทางถึงแคมป์ I และกำลังติดตั้งเชือกและบันไดจากเบสแคมป์ ไปยัง แคมป์ II และอาจต้องใช้เวลามากกว่า 10 วัน ในการปรับปรุงเส้นทางไปยังแคมป์ II


หน้าที่ของทีมหมอที่มีบันไดเป็นของตัวเอง ได้รับมอบหมายให้แก้ไขเส้นทางขึ้นไปถึงแคมป์ II เท่านั้น และบริษัท Seven Summit Treks ซึ่งนำทีมโดย กามิ ริตา เชอร์ปา ผู้ที่ปีนยอดเขาเอเวอร์เรส ที่เป็นดั่งสวยหลังบ้านของเขา ปีนสำเร็จมาแล้วถึง 28 ครั้ง ถ้าเขาขึงเชือกสำเร็จในปีนี้ ก็จะเป็นผู้ที่พิชิตยอดเขาเอเวอร์ สำเร็จเป็นครั้งที่ 29 โดยการทำลายสถิติตัวเอง จะแก้ไขเส้นทางเหนือแคมป์ II ไปยังจุดสูงสุด รวมถึงยอดเขาลูกอื่น ๆ ใกล้เคียง คือ ยอดเขาโลสเซต์ 8516 เมตร และ ยอดเขานุปเซต์ 7861 เมตร


จนถึงวันนี้ กรมการท่องเที่ยวได้ออกใบอนุญาตปีนเขา 274 ใบสำหรับ Everest, 40 ใบสำหรับ Lhotse และ 12 ใบสำหรับ Nuptse รัฐบาลเนปาลเก็บเงินสำหรับใบอนุญาต ปีนยอดเขาเอเวอร์เรสอย่างเดียว 11,000 เหรียญสหรัฐ/นักปีนเขา ซึ่งถือว่ามีจำนวนนักปีนเขาน้อยมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้



ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page